วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

คำมูล

คำมูล
คำที่เกิดจากการประสมของโครงสร้างคำ และเป็นคำที่มีความหมาย ผู้ฟังและผู้อ่านฟังแล้วอ่านแล้วเข้าใจว่าหมายถึงอะไร หรือสิ่งใด หรืออย่างไร คำนั้นจะเป็นคำไทย หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ เรียกว่า คำมูล ทั้งสิ้น
คำมูลแต่ละคำจะมีความหมาย คำมูลคำหนึ่งมักมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่มีอยู่บ้างที่คำคำเดียว รูปลักษณ์อย่างเดียวมีหลายความหมาย เช่น ติด มีความหมายว่า ข้องอยู่ ไปไม่ได้ เกาะอยู่ ทำให้แน่น ฯลฯ หรือคำหลายคำมีรูปลักษณ์หลายอย่างแต่มีความหมายอย่างเดียว เช่น สตรี นารี ยุพา กัญญา หมายถึง ผู้หญิง
เราสามารถแบ่งคำมูลออกได้เป็น
· คำมูลพยางค์เดียว
· คำมูลหลายพยางค์
คำมูลพยางค์เดียว
คำที่เปล่งออกมาเพียงครั้งเดียว และมีความหมายชัดเจนในตัว เช่น รัก หลง ไม่ ไป เงิน จริง ปลอม ก๊ก ฟรี โชว์ เดิน
นาม คน ไก่ ข้าว ช้อน (ไทยแท้)
ครีม บุญ กรรม ก๊ก (มาจากภาษาอื่น)
สรรพนาม ฉัน เขา ท่าน สู ตู (ไทยแท้)
คุณ อั๊วะ ลื้อ (มาจากภาษาอื่น)
กริยา กิน นอน เห็น ยก (ไทยแท้)
เดิน เซ็ง โกรธ (มาจากภาษาอื่น)
วิเศษณ์ แดง ดำ นิ่ม คด (ไทยแท้)
ฟรี เก๋ เพ็ญ (มาจากภาษาอื่น)
บุพบท ใน นอก เหนือ ใต้ (ไทยแท้)
สันธาน แต่ และ ถ้า (ไทยแท้)
อุทาน โอ๊ย ว้าย (ไทยแท้)
ว้าว โธ่ (มาจากภาษาอื่น)



คำมูลหลายพยางค์
เป็นคำที่เปล่งออกมาเกิน 1 ครั้ง รวมกันจึงเข้าใจความหมาย ถ้าหากแยกเสียงที่เปล่งออกมาเป็นช่วง ๆ จะไม่มีความหมาย เช่น ประตู มะละกอ วิทยุ กระต่าย กระดาษ แจกัน
นาม กระจง ตะไคร้ จิ้งหรีด (ไทยแท้)
กุญแจ โซดา กะลาสี (มาจากภาษาอื่น)
สรรพนาม ดิฉัน กระผม กระหม่อม (ไทยแท้)
กริยา เขม่น กระหยิ่ม สะดุด ละล่ำละลัก (ไทยแท้)
เสวย บรรทม ประสูติ (มาจากภาษาอื่น)
วิเศษณ์ ตะลีตะลาน ถมึงทึง ทะมัดทะแมง (ไทยแท้)
ประเสริฐ จรัส ขจี (มาจากภาษาอื่น)
บุพบท,สันธาน กระทั่ง ฉะนั้น (ไทยแท้)
อุทาน อุเหม่ โอ้โฮ (ไทยแท้)
อนิจจา อพิโธ่ ปัดโธ่ (มาจากภาษาอื่น)
คำที่สร้างจากคำมูล
คำที่เกิดขึ้นโดยการสร้างคำจากคำมูล จะแบ่งตามรูปลักษณะได้ดังนี้
1. คำประสม
2. คำซ้อน
3. คำซ้ำ
4. คำสมาส – สนธิ











คำประสม
หลักสังเกตคำประสม

: สังเกตได้ดังนี้
1. เป็นคำเดียวโดด ๆ ซึ่งได้ความในตัวเอง
เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ หญ้า ฟ้า แม่ พ่อ ตา ย่า ยาย ฯลฯ
2. เป็นคำหลายพยางค์ แต่ถ้าแยกพยางค์เหล่านั้นออกจากกันแล้วจะไม่มีความหมายใช้ในภาษา หรือ ถ้ามีความหมายก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวมพยางค์อยู่ด้วยเลย
เช่น กระป๋อง กระถาง อาชญา ศิลปะ สายยู กุญแจ ฯลฯ
3. คำที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งแม้จะมีหลายพยางค์ก็จริง
เช่น เกาเหลา เซ่งจี้ เทนนิส แบดมินตัน โขมด กัลป์ปังหา นาฬิกา อัสดร ฯลฯ
: ส่วนคำประสมก็คือ...
คำประสม
วิธีสร้างคำประสมคือนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป และเป็นคำที่มีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่โดยใช้คำที่มีลักษณะเด่นเป็นคำหลักหรือเป็นฐาน แล้วใช้คำที่มีลักษณะรองมาขยายไว้ข้างหลัง คำที่เกิดขึ้นใหม่มีความหมายใหม่ตามเค้าของคำเดิม (พวกความหมายตรง) แต่บางทีใช้คำที่มีน้ำหนักความหมายเท่า ๆ กันมาประสมกัน ทำให้เกิดความพิสดารขึ้น (พวกความหมายอุปมาอุปไมย) เช่น
1. พวกความหมายตรง และอุปมา (น้ำหนักคำไม่เท่ากัน)
· นาม + นาม เช่น
โรงรถ เรืออวน ขันหมาก
ข้าวหมาก น้ำปลา สวนสัตว์
· นาม + กริยา
เรือแจว บ้านพัก คานหาม
กล้วยปิ้ง ยาถ่าย ไข่ทอด
· นาม + วิเศษณ์
น้ำหวาน แกงจืด ยาดำ
ใจแคบ ปลาเค็ม หมูหวาน
· กริยา + กริยา
พัดโบก บุกเบิก เรียงพิมพ์
ห่อหมก รวบรวม ร้อยกรอง
· นาม + บุพบท หรือ สันธาน
วงใน ชั้นบน ของกลาง
ละครนอก หัวต่อ เบี้ยล่าง
· นาม + ลักษณะนาม หรือ สรรพนาม
ลำไพ่ ต้นหน คุณนาย
ดวงตา เพื่อนฝูง ลูกเธอ
· วิเศษณ์ + วิเศษณ์
หวานเย็น เปรี้ยวหวาน เขียวหวาน
· ใช้คำภาษาต่างประเทศประสมกับคำไทย เช่น
เหยือกน้ำ เหยือก เป็นคำภาษาอังกฤษ
โคถึก ถึก เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า หนุ่ม
นาปรัง ปรัง เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ฤดูแล้ง
เก๋งจีน จีน เป็นภาษาจีน
พวงหรีด หรีด เป็นคำภาษาอังกฤษ
2. พวกความหมายอุปมาอุปไมย
คำประสมพวกนี้มักมีความหมายเป็นสำนวน และมักนำคำอื่นมาประกอบด้วย เช่น
หน้าตา ประกอบเป็น หน้าเฉย ตาเฉย นับหน้าถือตา เชิดหน้าชูตา
บางคำประสมกันแล้วหาคำอื่นมาประกอบให้สัมผัสคล้องจองตามวิธีของคนเจ้าบทเจ้ากลอนเพื่อให้ได้คำใหม่เป็นสำนวน เช่น
กอดจูบลูบคลำ คู่ผัวตัวเมีย จับมือถือแขน
เย็บปักถักร้อย หน้าใหญ่ใจโต ลูกเล็กเด็กแดง
ให้สังเกตว่าที่ยกมานี้คล้ายวลี ทุกคำในกลุ่มนี้มีความหมายแต่พูดให้คล้องจองกันจนเป็นสำนวนติดปาก แต่มีบางคำดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่บางตัวไม่มีความหมายเพียงแต่เสริมเข้าให้คล้องจองเท่านั้น เช่น
กำเริบเสิบสาน โกหกพกลม ขี้ปดมดเท็จ
รู้จักมักจี่ หลายปีดีดัก ติดสอยห้อยตาม
บางทีซ้ำเสียงตัวหน้าแล้วตามด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นกลุ่มคำที่เป็นสำนวนขึ้น เช่น
ตามมีตามเกิด ตามบุญตามกรรม ขายหน้าขายตา
ติดอกติดใจ กินเลือดกินเนื้อ ฝากเนื้อฝากตัว

การประสมอักษร
การประสมอักษรแทนเสียง มีวิธีประสม 4 แบบ คือ
1. การประสม 3 ส่วน
2. การประสม 4 ส่วน
3. การประสม 4 ส่วนพิเศษ
4. การประสม 5 ส่วน

1. การประสม 3 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์
ตัวอย่าง นี้ - น เป็นพยัญชนะต้น
สระอี เป็นสระ
ไม้โท เป็นวรรณยุกต์
2. การประสม 4 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และพยัญชนะท้ายพยางค์(ตัวสะกด)
ตัวอย่าง ด้าน - ด เป็นพยัญชนะต้น
สระอา เป็นสระ
ไม้โท เป็นวรรณยุกต์
น เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)
3. การประสม 4 ส่วนพิเศษ ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวการันต์
ตัวอย่าง เล่ห์ - ล เป็นพยัญชนะต้น
สระเอ เป็นสระ
ไม้เอก เป็นวรรณยุกต์
ห เป็นตัวการันต์
4. การประสม 5 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และตัวการันต์
ตัวอย่าง ศิลป์ - ศ เป็นพยัญชนะต้น
สระอิ เป็นสระ
ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์
ล เป็นตัวสะกด
ป เป็นตัวการันต์


การสร้างคำด้วยวิธีประสมคำ
คำไทยเป็นคำโดด หรือคำพยางค์เดียว มีวิธีที่จะสร้างคำใหม่ด้วยการนำคำมาเรียงต่อกันเข้าให้มีความผิดแผกแปลกออกไปจากเดิม แต่การนำคำมาเรียงต่อกันเพื่อสร้างความหมายใหม่ของภาษาไทยมีลักษณะพิเศษออกไปก็คือ ฟังแล้วเห็นภาพหรือรู้จักหน้าที่ได้เลย คำแบบนี้หาได้ยากในภาษาอื่น คำประสมอาจจะมีคำโดดตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปถึง 4 คำมารวมเป็น 1 คำ
ตัวอย่าง
พระ – เจ้า – แผ่น – ดิน ผ้า – เช็ด – หน้า
รถ – ไฟ การ – เพาะ – ปลูก


การประสมคำไทยแท้
ในภาษาไทยมีคำประสมมาก อีกทั้งแต่ละคำยังบ่งความหมายชัดเจน หางคำยังมีความไพเราะ มีเสียงคล้องจองกันอีกด้วย โดยมีวิธีประสมคือ การเติมคำ
เติมคำ คือ การสร้างคำขึ้นใหม่ ด้วยวิธีเติมคำลงข้างหน้า
1.1 การสร้างคำนาม คือ สร้างคำนามให้เกิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีเติมคำชนิดต่าง ๆ ลงข้างหน้า หลังคำนามเดิม
ก. นาม + กริยา
การสร้างคำด้วยการเติมคำกริยาลงข้างหลัง
ตัวอย่าง น้ำ + ใช้ น้ำ + เกิน
น้ำ + ตก น้ำ + ค้าง
ข. นาม + กริยา + นาม
การสร้างคำใหม่ด้วยการเติมคำกริยาและนามลงข้างหลัง
ตัวอย่าง ห้อง + รับประทาน + อาหาร คน + ขาย + ขนม
เครื่อง + ซัก + ผ้า ที่ + เขี่ย + บุหรี่
ค. นาม + นาม
การสร้างคำด้วยการเติมคำนามลงข้างหลังนาม เพื่อขยายนามหน้า
ตัวอย่าง น้ำ + ชา น้ำ + นม น้ำ + ปลา
ฟอง + น้ำ ไอ + น้ำ น้ำ + ตาล
ง. นาม + วิเศษณ์
การสร้างคำด้วยการเติมคำวิเศษณ์ลงข้างหลังนาม รวมเป็นคำเดียว
ตัวอย่าง น้ำ + มัน ของ + เหลว เงิน + สด
1.2 การสร้างคำกริยา คือ การสร้างคำกริยาขึ้นโดยเติมคำข้างหลังให้เป็นคำแสดงอาการอีกอย่างหนึ่ง
ก. กริยา + นาม
การสร้างคำด้วยการเติมนามลงข้างหลังกริยา ถือเป็นคำกริยา
ตัวอย่าง เข้า + ใจ ตั้ง + ต้น
ข. กริยา + กริยา (หรือวิเศษณ์ + วิเศษณ์ ในเมื่อวิเศษณ์ทำหน้าที่กริยา)
ตัวอย่าง ขน + ส่ง สวย + งาม
เปรี้ยว + หวาน เปลี่ยน + แปลง
ค. นาม + วิเศษณ์
การสร้างคำด้วยการเติมวิเศษณ์ลงข้างหลังนามรวมกันเป็นคำเดียวที่ทำหน้าที่กริยาหรือวิเศษณ์
ตัวอย่าง ใจ + กว้าง ปาก + หวาน หัว + แข็ง

















คำซ้อน
คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้เสียงตรงข้าม ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี มากมาย ฯลฯ
คำซ้อน 4 คำ ที่มีคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป ฯลฯ
คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้น ฯลฯ
ความมุ่งหมายของการสร้างคำซ้อน
1. เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม เช่น ใหม่เอี่ยม ละเอียดลออ เสื่อสาด
2. ทำให้เกิดความหมายใหม่ในเชิงอุปมาอุปไมย เช่น ตัดสิน เบิกบาน เกี่ยวข้อง
: แล้วเธอรูมั้ยว่าคำซ้อนเกิดจากอะไร ก็เกิดจากการซ้อน
หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืนกันด้วย เช่น
การซ้อนคำ
เป็นการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน เมื่อซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น คำที่เกิดจากซ้อนคำเช่นนี้เรียกว่าซ้อนคำ
1. คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น จิตใจ ถ้วยชาม ข้าทาส ขับไล่ ขับกล่อม ค่างวด ฆ่าแกง หยูกยา เยียวยา แก่นสาร ทอดทิ้ง ท้วงติง แก้ไข ราบเรียบ เหนื่อยหน่าย ทำมาค้าขาย ชั่วนาตาปี
2. คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น หอมเหม็น ถูกแพง หนักเบา ยากง่าย มีจน ถูกผิด ชั่วดีมีจน หน้าไหว้หลังหลอก
3. คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงเดียวกันหรือมีเสียงสระเข้าคู่กัน เช่น เกะกะ เปะปะ รุ่งริ่ง โยกเยก กรอบแกรบ กรีดกราด ฟืดฟาด มากมายก่ายกอง อีลุ่ยฉุยแฉก
: หรืออาจจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามหน้าที่ ได้แก่
1. คำซ้อนเพื่อความหมาย
2. คำซ้อนเพื่อเสียง
วิธีซ้อนคำเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่
นำคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น
เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้
เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ ชิงช้า
จริงจัง ทึกทัก หมองหมาง ตึงตัง
นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมาย เพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่น โดยมากใช้ในคำพูด เช่น
กวาดแกวด กินแกน เดินแดน
มองเมิง ดีเด่ ไปเปย
นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น
เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม
ออมชอม อ้างว้าง เรื่อยเจื้อย ราบคาบ
นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น
ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย
คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น
ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร
สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา
จมูกปาก เป็น จมูกจปาก
คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลางหรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทย ความหมายของคำจะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น: